‘7 ช่องทางจ่ายค่าใบสั่ง’ สะดวกที่ไหน ไปจ่ายที่นั่นกัน!

police car at street

ในชีวิตคนใช้รถใช้ถนนต้องมีสักวันแหละที่อยู่อยู่ก็มีใบสั่งมาถึงบ้านกันแบบไม่ทันตั้งตัว (หรืออาจจะรู้ตัว แต่ก็ยอม) บางทีจะไปจ่ายค่าใบสั่งถึงสถานีตำรวจก็ไม่สะดวกซักเท่าไหร่ ถ้าเลือกได้ก็อยากเลือกวิธีที่สะดวกที่สุด เพราะงั้นบทความนี้เลยขอชวนมาดู x วิธีจ่ายค่าใบสั่งใครสะดวกที่ไหนไปจ่ายที่นั่นกัน รับรองประหยัดเวลาไปได้อีกเยอะ!

4 วิธีเช็คใบสั่งที่ค้างจ่าย

ก่อนจะไปดูวิธีจ่ายค่าใบสั่งมาดูกันก่อนดีกว่าว่า มีวิธีเช็คใบสั่งที่กำลังค้างจ่ายกี่วิธี และสะดวกวิธีไหนที่สุด เพราะบางทีมีใบสั่งส่งตรงมาถึงบ้าน แต่ก็ดันลืมหรือทำหายบ้าง

  1. เช็คจากใบสั่งที่มาถึงบ้าน
  2. เช็คยอดใบสั่งจราจรออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://ptm.police.go.th/eTicket ด้วยการลงทะเบียนใส่ข้อมูลส่วนตัวตามที่เว็บไซต์กำหนด แล้วล็อกอินเข้าระบบไปเช็คใบสั่งออนไลน์กัน หากเช็คแล้วพบว่า ไม่มีข้อมูลใบสั่งในระบบแสดงว่า ไม่มีใบสั่งค้างจ่าย แต่ถ้า มีข้อมูลใบสั่งในระบบโผล่มา ให้รีบหาวิธีจ่ายค่าใบสั่งที่ตัวเองสะดวก แล้วพุ่งตัวไปจ่ายโดยด่วน
  3. ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (Government Smart Kiosk)
  4. กองกำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร

ทั้งนี้ ถ้าใบสั่งที่คุณได้รับมีปัญหา เช่น ข้อมูลที่ขึ้นว่าในระบบไม่ใช่รถของคุณหรือข้อมูลบางอย่างผิดพลาด ฯลฯ ก็อาจไม่จำเป็นจะต้องรีบจ่ายให้ไปทำการยื่นคำร้องทักท้วงปฏิเสธข้อหาหรือติดต่อไปยังพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจใกล้บ้านคุณก็ได้เหมือนกัน

7 ช่องทางจ่ายค่าใบสั่ง ปี 2565

หลังจากเช็คเสร็จเรียบร้อยแล้วว่า มีใบสั่งค้างจ่ายอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์หรือใบสั่งที่ได้จากการขับรถความเร็วเกินกำหนดและถูกจับข้อมูลด้วยกล้อง CCTV ค้างจ่ายอยู่ขอแนะนำให้มาเลือกช่องทางจ่ายค่าใบสั่งที่สะดวกและรวดเร็วทันใจ ประจำปี 2565 กัน

  1. สถานีตำรวจใกล้บ้าน

วิธีจ่ายค่าใบสั่งที่มีมานาน แต่บางคนอาจไม่ค่อยสะดวกเดินทางไปจ่ายค่าใบสั่งสักเท่าไหร่ก็คือ สถานีตำรวจใกล้บ้าน แค่คุณตำรวจรับใบสั่งไปตำรวจก็เตรียมรับจ่ายเงินทันทีเลยล่ะ

  1. เคาน์เตอร์เซอร์วิส

แน่นอนว่า ร้านสะดวกซื้อ อย่าง 7-11 มีอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย (แทบจะตั้งทุกปากซอยและท้ายซอยกันเลยทีเดียว) เคาน์เตอร์เซอร์วิสเลยเป็นอีกหนึ่งพื้นที่จ่ายค่าใบสั่ง เพียงแค่นำใบสั่งไปยื่นให้พนักงานหน้าเคาน์เตอร์และจ่ายเงินก็เรียบร้อย

  1. ธนาคารกรุงไทย

ใครที่ปกติมีบัญชีของธนาคารกรุงไทยก็สามารถจ่ายค่าใบสั่งผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT เลือกเมนู ‘จ่ายเงิน’ > ยอดนิยม > พิมพ์คำว่า ‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ > กรอกข้อมูลใบสั่งและเลขบัตรประชาชน จากนั้นชำระตามปกติ หรือจะไปจ่ายที่ตู้เอทีเอ็มหรือธนาคารกรุงไทยสาขาที่คุณสะดวกก็ได้

  1. ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา
  2. CenPay

CenPay ของเครือ CENTRAL Group พูดง่าย ๆ ว่า แทบทุกร้านในเครือเซ็นทรัลคุณสามารถไปจ่ายค่าใบสั่งได้ทุกที่ เช่น แฟมิลี่ มาร์ท, Tops, เซ็นทรัล, โรบินสัน, บีทูเอส ฯลฯ

  1. ตู้บุญเติม
  2. หน่วยบริการรับชำระค่าปรับตามใบสั่งที่มีเครื่องหมาย PTM

หากใครสะดวกจ่ายค่าใบสั่งที่ไหนก็ลองหยิบใบสั่งที่ตัวเองได้รับไปชำระที่นั่นกัน แต่อาจจะต้องเตรียมค่าบริการสำหรับบางช่องทางอีกเล็กน้อยประมาณ 15 ถึง 20 บาท

 

ถ้าไม่จ่ายค่าใบสั่งตามเวลาที่กำหนดจะเกิดอะไรขึ้น

นอกจากจะถูกตัดคะแนนความประพฤติแล้ว (โดนตัดเกิน 12 คะแนนจะโดนห้ามขับ 90 วัน แต่ถ้าโดนหนักก็จะถูกเพิกถอนห้ามขับรถตลอดชีวิต) ถ้าไม่จ่ายค่าใบสั่งตามเวลาที่กำหนดและไม่มีเหตุอันสมควรก็อาจจะโดนโทษปรับจ่ายเพิ่มอีก 1,000 บาท ไม่สามารถรับหลักฐานไปเสียภาษีจนกว่าจะจ่ายค่าปรับครบทำให้อาจโดนค่าปรับเพิ่มอีก 2,000 บาท และกรณีร้ายแรงผิดซ้ำ ๆ อาจถึงขั้นถูกออกหมายจับ ไปจนถึง ส่งฟ้องศาลได้เลย

จะเห็นว่า แม้ใบสั่งที่คุณโดนจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่โทษของการชักดาบกลับยิ่งใหญ่เกินคาด เพราะงั้นถ้าคุณเป็นอีกคนที่จำเป็นต้องใช้รถ ใช้ถนนก็อย่าลืมเคารพกฎหมาย ด้วยการปฏิบัติตามกฎจราจร หากพลาดพลั้งก็รับผิดชอบจ่ายค่าใบสั่งตามกำหนดระยะเวลา เพียงเท่านี้ก็ลดโอกาสเกิดปัญหาที่จะตามมาในภายหลังได้ไม่น้อย สำหรับท่านใดที่กำลังกังวลใจเรื่องของใบสั่งหรือลืมจ่ายภายในกำหนดเวลา ทำให้ไม่ได้หลักฐานการเสียภาษีหรือมีปัญหากับการทำประกันรถยนต์ สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจากแรบบิท แคร์ พร้อมดูแลตลอดการเดินทาง จากบริษัทประกันชั้นนำทั่วประเทศได้ที่นี่